ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลขุนยวม
หน่วยงานย่อยภายในองค์กร
ทีมนำคุณภาพโรงพยาบาล
เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอขุนยวม
เครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดแม่ฮ่องสอน
คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
สาระน่ารู้เพื่อสุขภาพ
ความรู้เกี่ยวกับ..เห็ดพิษ!!!
15-06-2559 Hits:3671 สาระน่ารู้ทั่วไป Super User

ความรู้เกี่ยวกับเห็ดพิษ 1.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเห็ดใดมีพิษและสามารถรับประทานได้หรือไม่ 2. วิธีสังเกตลักษณะของเห็ดที่มีพิษ (บรรยายพร้อมภาพประกอบ) ตอบข้อ 1-2 ตารางเปรียบเทียบลักษณะเห็ดพิษและเห็ดรับประทานได้ เห็ดพิษ เห็ดรับประทานได้ 1. ส่วนใหญ่เจริญงอกงามในป่า 1. ส่วนใหญ่เจริญในทุ่งหญ้า 2. ก้านสูง ลำต้นโป่งพองออก โดยเฉพาะที่ฐาน กับที่วงแหวนเห็นชัดเจน 2. ก้านสั้น อ้วนป้อมและไม่โป่งพองออก ผิวเรียบไม่ขรุขระ ไม่มีสะเก็ด 3. สีผิวของหมวกมีได้หลายสี เช่น สีมะนาว ถึงสีส้ม สีขาวถึงสีเหลือง 3. สีผิวของหมวกส่วนใหญเป็นสีขาวถึงสีน้ำตาล 4. ผิวของหมวกเห็ดส่วนมากมีเยื่อหุ้มดอกเห็ดเหลืออยู่ในลักษณะที่ดึงออกได้ หรือเป็นสะเก็ดติดอยู่ 4. ผิวของหมวกเห็ดเรียบจนถึงเป็นเส้นใยและ เหมือนถูกกดจนเป็นแผ่นบาง ๆ ดึงออกยาก 5. ครีบแยกออกจากกันชัดเจน มักมีสีขาว บางชนิดสีแดงหรือสีเขียวอมเหลือง 5. ครีบแยกออกจากกัน...
Read moreรู้ทัน..โรคไข้เลือดออก
10-06-2559 Hits:10042 สาระน่ารู้ทั่วไป Super User

ไข้เลือดออกเกิดจากอะไรเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเองกี(Dengue virus)นำโรคโดยยุงลายที่มีชื่อว่า เอดิส อีวิปติ(Aedes aegypti)ยุงชนิดนี้มีขนาดเล็ก สีดำ มีลายขาวที่ขา ท้องและลำตัว ทำให้เห็นเป็นปล้องสีขาวสลับดำ และมีทางขาวคู่อยู่ที่ด้านหลัง ยุงนี้เป็นยุงบ้านชอบอยู่ในบ้านและรอบๆบ้าน ชอบกัดกินเลือดคนในเวลากลางวันเพาะพันธุ์ในน้ำนิ่งใสค่อนข้างสะอาดแหล่งเพาะพันธุ์ที่สำคัญได้แก่เครื่องใช้ที่มีน้ำขังทิ้งไว้เป็นเวลานาน เช่น จานรองขาตู้กับข้าว กระถาง หรือแจกันที่ใช้เลี้ยงไม้ใบต่างๆ หรือโอ่งน้ำที่ใช้ปลูกบัว ตุ่ม ไห หม้อ ขวด กระป๋อง กะลา ยางรถ และสิ่งอื่นๆที่มีน้ำขังทิ้งไว้ ยุงลายที่เป็นพาหะของโรคนี้จึงเป็นตัวการสำคัญที่สุดของการระบาดของโรค เพราะเมื่อยุงติดเชื้อไวรัสเข้าไปในตัวแล้วครั้งหนึ่งเชื้อโรคจะยังคงอยู่ไปตลอดจนชั่วอายุของยุงนั้น ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 1-2 เดือน ผู้ที่เป็นไข้เลือดออกมีอาการอย่างไรบ้างหลังจากถูกยุงที่มีเชื้อไวรัสเดงกีกัด...
Read moreดูแลรักษาหัวใจให้ปลอดภัยจากโรค
01-06-2559 Hits:3076 สาระน่ารู้ทั่วไป Super User

หัวใจเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายที่ทำงานโดยไม่มีวันหยุด หากหัวใจหยุดเต้น นั่นยอมหมายถึงการสิ้นสุดของชีวิตด้วยเช่นกัน ดังนั้นการดูแลหัวใจให้แข็งแรงจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากรศ.นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ หน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของการดูแลหัวใจให้ปลอดภัยจากโรค หน้าที่ของหัวใจ หัวใจมีหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยทำงานไม่มีวันหยุด หากหัวใจไม่ทำงานร่างกายก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลให้เกิดปัญหากับหัวใจที่พบได้บ่อยในประเทศไทย ได้แก่ การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารประเภทแป้ง อาหารที่มีรสหวานจัด อาหารที่มีไขมันสูง และขาดการออกกำลังกาย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อันมีผลต่อการเกิดโรคหัวใจตามมา นอกจากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น พันธุกรรมก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจด้วยเช่นกัน โดยในผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้ และสำหรับโรคบางโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคลูปัส...
Read more